คุณเคยมีปัญหาเหงื่อออกมากผิดปกติไหม หรือเคยหมดความมั่นใจเพราะมีปัญหารักแร้เหม็น กลิ่นตัวแรง จนทำให้คนรอบ ๆ ตัว ค่อย ๆ หนีหาย นั่นเป็นเพราะส่วนลึกลงไปชั้นหนังแท้บริเวณรักแร้จะมีต่อมเหงื่อ ต่อมไขมัน และต่อมผลิตกลิ่นโดยเฉพาะ ทำให้เมื่อมีเหงื่อไหลจะมีกลิ่นตัวรุนแรง ซึ่งอาจทำให้ส่งผลเสียต่อบุคลิกภาพ ความน่าเชื่อถือ และกระทบต่อการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ แต่อย่าเพิ่งสิ้นหวังกันค่ะ เพราะวันนี้ออนนี่เตรียมวิธีรักษาปัญหากลิ่นตัวแรง รักแร้เหม็นมามัดรวมกันไว้ให้แล้ว
สาเหตุหลักในการเกิดปัญหากลิ่นตัว รักแร้เหม็น?
หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่าถึงแม้จะดูแลความสะอาดเป็นอย่างดี ทำไมถึงมีกลิ่นตัวได้ นั่นเป็นเพราะนอกจากความสะอาดแล้วยังมีสาเหตุอื่นๆร่วมด้วยเช่น
- ฮอร์โมนร่างกาย
ฮอร์โมนในร่างกาย มีส่งผลต่อต่อมอะโพเอคไครน์ (Apocrine) ซึ่งมีหน้าที่ขับเหงื่อและน้ำมันที่บริเวณรักแร้ ซึ่งต่อมนี้จะฝังตัวอยู่ในชั้นใต้ผิวหนัง และถูกกระตุ้นได้ด้วยฮอร์โมนเพศชาย Androgen เมื่อเหงื่อเจอกับโปรตีนเคอราติน บนผิวหนังที่ถูกย่อยสลายโดยเชื้อแบคทีเรียจะกลายเป็นกรดไขมันที่ทำให้เกิดกลิ่นตัวที่แตกต่างกันไปตามเชื้อชาติ และอาหารการกินได้ - ขนรักแร้เยอะ
หากมีขนรักแร้เยอะมากๆ อาจเป็นการเพิ่มปริมาณแหล่งสะสมของเชื้อโรค รวมถึงแบคทีเรียต่างๆ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดปัญหารักแร้เหม็น หรือกลิ่นตัวแรง เนื่องจากขนรักแร้ทำให้การทำความสะอาดผิวเป็นไปได้ยาก นอกจากนี้ขนรักแร้ยังเพิ่มการเสียดสีใต้วงแขนจะทำให้รักแร้ดำ ได้อีกด้วย - อาหารการกิน
การรับประทานอาหารที่มีกลิ่นแรง เช่นอาหารที่มีส่วนผสมของขมิ้น กระเทียม รวมถึงเครื่องเทศต่างๆที่มีรสชาติเผ็ดร้อน และมีกลิ่นฉุน เมื่อผ่านการย่อยจะเกิดแก๊สซัลเฟอร์ที่ปนอยู่กับออกซิเจนในเลือดจะถูกส่งไปอยู่ตามรูขุมขน ดังนั้นหากรับประทานเข้าไปมากๆ ก็อาจส่งผลทำให้เกิดกลิ่นตัวได้ โดยเฉพาะเวลาที่มีเหงื่อออกมาๆบริเวณใต้วงแขน - จากภาวะของโรคต่างๆ
โรคเบาหวาน จะทำให้ร่างกายจะเริ่มขับไขมันเพื่อใช้เป็นพลังงานส่งผลให้ระดับคีโตน (Ketone) ในร่างกายสูงขึ้น จนเปลี่ยนเป็นกลิ่นตัวได้ รวมถึงโรคอ้วนที่ต่อมเหงื่อมีการผลิตเหงื่อมากทำให้อวัยวะภายนอกมีส่วนอับชื้น จึงทำให้มีกลิ่นตัวแรงกว่าคนที่ผอม โดยเฉพาะบริเวณข้อพับ ตามรักแร้ ชั้นพุง ขาหนีบ นอกจากนี้การรับประทานยารักษาโรคบางชนิด ก็สามารถทำให้มีกลิ่นได้ด้วยเช่นกัน - การใช้โรลออน
การใช้น้ำหอมหรือโรลออน ที่มีส่วนผสมของสารเคมี อาจทำให้เกิดการระคายเคย แพ้ คัน จนทำให้ผิวเกิดความหมองคล้ำได้ และและนอกจากนี้โรลออนบางชนิดยังไม่สามารถระงับกลิ่นกายหรือลดเบื่อได้จึงทำให้เมื่อมีเหงื่อไหลออกมาผสมกับกลิ่นของโรลออน จนกลายเป็นกลิ่นตัวที่รุนแรงขึ้น - การใส่เสื้อผ้าร่วมกับผู้อื่น
การส่วนเสื้อผ้าร่วมกับผู้อื่นก็เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เกิดกลิ่นตัวได้ไม่รู้ตัว เนื่องจากเสื้อผ้ามักมีแบคทีเรียที่มันเกาะที่ผ้าจึงทำให้เกิดกลิ่นเหม็น และถ้าใครเอาไปใส่ต่อก็จะส่งผลทำให้คนนั้นมีกลิ่นตัว หรือรักแร้เหม็นได้นั่นเอง (ในกรณีนี้ยังรวมไปถึงผู้ที่ชอบใส่เสื้อผ้าซ้ำ ที่ทำให้เกิดการหมักหมมของเชื้อแบคทีเรียอีกด้วย)
กลิ่นตัวเหม็นมีกี่ประเภท?
ภาวะของการเกิดกลิ่นตัวสามารถแยกออกเป็น 2 ประเภท คือกลิ่นตัวเหม็นที่เกิดจากต่อมกลิ่น และ กลิ่นตัวเหม็นที่เกิดจากประเภทของโรคกลิ่นเหงื่อ ดังนี้
- โรคกลิ่นเหงื่อ ซึ่งเกิดมาจากการต่อมเหงื่อทำงานมากผิดปกติ ร่วมกับแบคทีเรียบนผิวในบริเวณนั้นมีการย่อยสลายผิวหนังกำพร้า จนทำให้เกิดภาวะรักแร้เปียก และกลิ่นตัวเหม็น
- ต่อมกลิ่น มีหน้าที่ผลิตสาร Pheromone (ฟีโรโมน) ซึ่งอาจทำให้เกิดมีกลิ่นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่เมื่อร่างกายมีการหลั่งสารชนิดนี้ออกมาแล้วปะปนเข้ากับเชื้อแบคทีเรีย จะกลายเป็นแอมโมเนียและกรดไขมันสายสั้น ที่ก่อให้เกิดกลิ่นรุนแรง ทำให้เกิดเป็นปัญหารักแร้เหม็น ซึ่งจะมีกลิ่นที่แตกต่างไปจากกลิ่นเหงื่อในจุดต่างๆของร่างกาย
ลักษณะของต่อมเหงื่อที่ส่งผลทำให้รักแร้เหม็น
ต่อมเหงื่อถือว่ามีส่วนสำคัญที่มีผลทำให้รักแร้เหม็น โดยเฉพาะต่อมเหงื่อที่มีลักษณะดังนี้
- ต่อมเหงื่อเอ็คไคลน์ (Eccrine Sweat Glands)
Eccrine Sweat Glands เป็นต่อมเหงื่อซึ่งทำหน้าที่หลั่งเหงื่อ เพื่อระบายความร้อนออกจากร่างกาย การหลั่งเหงื่อ (Sweating) นั้นเป็นการตอบ สนอง (Physiologic response) ของร่างกาย เมื่อร่างกายมีอุณหภูมิที่สูงขึ้นจากการออกกำลังกาย (Physical exercise) - ต่อมเหงื่ออะโพรไคลน์ (Apocrine Sweat Glands)
Apocrine Sweat Glands เป็นต่อมเหงื่อที่มีขนาดใหญ่ ฝังตัวอยู่ภายใต้รักแร้ โดยจะทำงานตอบสนองต่อระบบ ฮอร์โมนของร่างกาย อย่างเวลาออกกำลังกาย หรือมีอารมณ์ที่แปรปรวน เช่น ความเครียด เป็นต้น
วิธีแก้รักแร้เหม็น รักษากลิ่นรักแร้
รักษาความสะอาด
การอาบน้ำทำความสะอาด โดยเน้นบริเวณข้อพับต่างๆ เช่น รักแร้ ขาหนีบ ทุกวันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ถึงแม้ว่าจะไม่ได้มีการออกกำลังกาย หรือทำกิจกรรมที่เหงื่อออกมากก็ตาม เพื่อเป็นการลดความอับชื้น และลดการสะสมของเชื้อโรคและคราบแบคทีเรียต่างๆ ซึ่งอาจส่งผลทำให้เกิดรักแร้ดำและกลิ่นตัวเห็นได้
ใช้ผลิตระงับกลิ่นกาย
การใช้ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกาย ถือเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่ง่ายที่สุด เพราะสามารถดับกลิ่นตัวอย่างรวดเร็ว มีหลายกลิ่นให้เลือกตามความชอบ แต่วิธีนี้สามารถดับกลิ่นได้เพียงแค่ชั่วคราวเท่านั้น ซึ่งในปัจจุบันก็มีการผลิตออกมาหลากหลายยี่ห้อ ฉะนั้นควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม ไม่ฉุนจนเกินไป เพื่อลดกลิ่นได้ดี และควรใช้โรลออนสำหรับลดเหงื่อโดยเฉพาะ – สำหรับผู้ที่มีเหงื่อออกมากเป็นพิเศษ เนื่องจากโรลออนธรรมดาอาจเอาไม่อยู่
ฉีดโบท็อกรักแร้
การฉีดโบท็อกซ์รักแร้ โดยใช้สารโบทูลินั่ม ท็อกซิน (Botulinum toxin type A) เข้าไปบริเวณรักแร้ข้างละ 20-30 จุด หรือข้างละประมาณ 30-100 ยูนิตขึ้นอยู่กับปริมาณต่อมเหงื่อ จะช่วยยับยั้งการทำงานของต่อมเหงื่อ ช่วยให้เหงื่อลดได้มากถึง 80% และทำให้กลิ่นตัวลดลงได้แบบชั่วคราว ซึ่งสามารถเห็นผลได้ภายใน 3-7 วันหลังฉีด และจะอยู่ได้นานประมาณ 6-8 เดือน แนะนำ ให้กลับมาฉีดซ้ำได้เรื่อยๆ เพื่อรักษาผลลัพธ์ให้ยาวนานยิ่งขึ้น โดยไม่เป็นอันตรายต่อผิวหนัง
เลเซอร์กำจัดขนรักแร้
การกำจัดขนบริเวณใต้วงแขนด้วยการทำเลเซอร์รักแร้เป็นการยิงคลื่นพลังงานลำแสงเพื่อชะลอการเจริญเติบโตของรากขน โดยไปทำลายเซลล์เม็ดสีในชั้นรากขน ช่วยทำให้ขนหลุดร่วงออกไปโดยไม่ทำร้ายผิว นอกจากนี้เครื่องเลเซอร์ที่ทรงประสิทธิภาพอย่าง Long Pulse ND Yag ยังมีความยาวคลื่น และคลื่นความถี่ที่สามารถกระตุ้นคอลลาเจนช่วยให้รักแร้เรียบเนียน รวมทั้งยังสามารถช่วยลดต่อมเหงื่อในผลิตน้ำมันออกมาน้อยลง ดังนั้นจึงเป็นการหัตถการที่ได้ผลลัพธ์ 2 อย่างในเวลาเดียวกัน
งดการใส่เสื้อผ้าที่รัดแน่น
การใส่เสื้อผ้าที่รัดแน่นอาจทำให้บริเวณรักแร้เกิดการอับชื้น เนื่องจากไม่สามารถระบายอากาศได้ดี จึงสามารถทำให้เกิดกลิ่นตัวขึ้นได้ง่าย โดยเฉพาะคนที่มีเหงื่อออกเยอะอยู่แล้ว นอกจากนี้การใส่เสื้อผ้าที่รัดแน่นยังเพิ่มการเสียดสีของใต้วงแขน จนอาจทำให้เกิดปัญหารักแร้ดำตามมา ดังนั้นผู้ที่มีปัญหาใต้วงแขนออนนี่จึงขอแนะนำให้ใส่เสื้อผ้าที่ให้ความโปร่งสบาย ระบายอากาศได้ดี เช่น ผ้าฝ้าย ผ้าลินิน เพื่อช่วยให้ลดการผลิตน้ำมันจากต่อมเหงื่อ
หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ร้อนและอับชื้น
อากาศที่ร้อนอบอ้าวอาจทำให้ร่างกายมีการผลิตเหงื่อที่เพิ่มมากขึ้น เพื่อระบายความร้อนของร่างกาย และส่งผลให้ต่อมเหงื่อผลิตน้ำมันออกมามากขึ้น จึงทำให้เกิดความอับชื้น ซึ่งเป็นสาเหตุของการสะสมเชื้อโรคและแบคทีเรียบนผิวหนัง เมื่อเกิดการทำปฏิกิริยาเปลี่ยนแปลงของสารบางอย่างในต่อมเหงื่อ ก็อาจส่งผลทำให้เกิดกลิ่นตัว หรือกลิ่นรักแร้เหม็นที่สร้างความรำคาญต่อคนรอบข้างได้
งดรับประทานที่มีกลิ่นฉุน
อาหารจำพวกที่มีทำให้เกิดกลิ่นตัวแรง หรืออาหารรสจัด เช่น กระเทียม หอมหัวใหญ่ หน่อไม้ฝรั่ง อาหารหมักดอง และเครื่องเทศต่างๆ รวมถึงเนื้อสัตว์ ซึ่งหากมีการรับประทานเข้าไปในปริมาณมากๆ อย่างต่อเนื่องอาจทำให้เกิดการสะสมไว้ในร่างกายและถูกขับออกมาทางต่อมเหงื่อ จึงทำให้เกิดกลิ่นตัวขึ้นได้ในที่สุด
กระแสไฟฟ้า Lontophoresis
Lontophoresis เป็นกระแสไฟฟ้าขนาดอ่อนลงไปใต้ผิวหนังเพื่อลดเหงื่อ กระตุ้นไปที่รูขุมขนทำให้ต่อมเหงื่อ (Iontophoresis) ชะลอการผลิตน้ำมัน ให้น้อยลงกว่าเดิม นิยมใช้ในการรักษาปัญหาเหงื่อออกที่มือ เหงื่อออกที่เท้า และลดต่อมเหงื่อที่รักแร้ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่สามารถช่วยลดกลิ่นตัวได้เมื่อมีการทำซ้ำหลายๆครั้ง
การใช้ยาระงับเหงื่อ
การใช้ยาระงับเหงื่อ (antiperspirants) ซึ่งเป็นสารลดการเกิดเหงื่อและกลิ่นตัวในผู้ที่มีเหงื่อออกมากผิดปกติ ซึ่งในตัวยาจะมีส่วนประกอบของโลหะ เช่น อะลูมิเนียมคลอไรด์ (aluminium chloride) ซึ่งจะไปอุดท่อต่อมเหงื่อ เพื่อช่วยลดการหลั่งเหงื่อ anticholinergics ยากดการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ จึงทำให้เหงื่อออกได้น้อยลง ผิวใต้วงแขนแห้งจนแบคทีเรียเติบโตได้ไม่ดี เป็นการรับประทานยาเพื่อช่วยลดกลิ่นตัวได้
การผ่าตัดต่อมเหงื่อ
การผ่าตัดต่อมเหงื่อ เป็นการผ่าตัดโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเลาะเอาต่อมเหงื่อออกไป หรือมีการตัดเส้นประสาทที่มาเลี้ยงต่อมเหงื่อ เพื่อลดการสั่งงานให้ร่างกายผลิตเหงื่อได้น้อยลง เมื่อร่างกายถูกการระงับหรือชะลอการผลิตน้ำมันออกจากร่างกายให้น้อยลง ก็จะช่วยลดการสะสมแบคทีเรียได้ แต่หลังการผ่าตัดอาจทำให้เกิดรอยแผลเป็นขนาดเล็กราว 1 ถึง 2 เซนติเมตร
ควบคุมน้ำหนักตัว
การลดน้ำหนักและควบคุมอาหาร ไม่ให้มีน้ำหนักตัวที่มากเกินไปก็จะช่วยส่งผลทำให้ ลดการทำงานของต่อมเหงื่อและลดความร้อนในร่างกาย ซึ่งจะช่วยลดการสะสมของเชื้อรา และความอับชื้นในบริเวณต่างๆ ให้ลดลง จึงช่วยให้กลิ่นตัวดีขึ้นโดยเฉพาะกลิ่นใต้วงแขน นอกจากนี้การควบคุมน้ำหนักอย่างถูกวิธี ยังช่วยให้สุขภาพดีขึ้นอีกด้วย
เคล็ดลับในการป้องกันไม่ให้เกิดกลิ่นตัวเหม็น?
- ควรอาบน้ำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เพื่อช่วยกำจัดเชื้อโรค และลดการสะสมของแบคทีเรีย
- ใช้ผ้าเช็ดตัวให้แห้งเพื่อชะลอการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย และ ช่วยลดความอับชื้น ห้องกันการเกิดกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์
- ใช้ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกาย ควรใช้ทุกครั้งหลังอาบน้ำเสร็จเพื่อช่วยเพิ่มความหอมสดชื่นให้กับร่างกาย
- หมั่นดูแลความสะอาดของตู้เสื้อผ้าเพื่อไม่ให้เกิดเชื้อรา ควรให้เสื้อผ้ามีความแห้งอยู่เสมอ และซักทำความสะอาดเสื้อผ้าเพื่อไม่ให้เกิดกลิ่นเหม็น
- งดอาหารและเครื่องดื่มที่ทำให้มีกลิ่นตัว โดยเฉพาะเครื่องเทศที่มีกลิ่นฉุน รวมถึงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
- อาบน้ำทุกครั้งหลังออกกำลังกาย หรือหลังทำกิจกรรมที่มีเหงื่อออกมาก
- หลีกเลี่ยงใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น รวมถึงการสวมเสื้อผ้าร่วมกับผู้อื่น
- หากมีปัญหาเหงื่อออกมากแนะนำให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาวิธีลดต่อมเหงื่อ เช่นการฉีดโบท็อกรักแร้เป็นต้น
- หาวิธีกำจัดขนรักแร้อย่างถาวร อย่างการทำเลเซอร์ขนรักแร้ เพื่อช่วยลดแหล่งสะสมของเชื้อแบคทีเรียใต้วงแขน
รีวิวการรักษารักแร้เหม็น ที่กังนัมคลินิก
สรุปเลือกวิธีรักษารักแร้เหม็นอย่างไร?
กลิ่นตัว รักแร้เหม็น มีสาเหตุหลักเกิดขึ้นจากต่อมเหงื่อ และเชื้อแบคทีเรียบนผิว ที่สามารถแก้ปัญหาได้ง่ายๆ หลายวิธี แต่สำหรับใครที่อยากได้ผลลัพธ์การรักษากลิ่นตัวที่เห็นผล แนะนำให้รักษาที่ต้นเหตุอย่างการจัดการกับปัญหาต่อมเหงื่อ เล่นการฉีดโบท็อกรักแร้ หรือการทำเลเซอร์กำจัดขน ที่มีประสิทธิภาพในการลดการทำงานของต่อมเหงื่ออะโพรไคลน์ (Apocrine Sweat Glands) และ ต่อมเหงื่อเอ็คไคลน์ (Eccrine Sweat Glands) ได้โดยตรง จึงทำให้กลิ่นตัวลดลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ